ยาม, ยาม หมายถึง [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่าปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารีครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโมโสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม,เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือเฝ้ายาม. (ป.).
[ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่าปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารีครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโมโสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม,เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือเฝ้ายาม. (ป.).
[ยามะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก).
(ถิ่น) น. เวลาบ่าย.
(ถิ่น) น. เวลาเช้า.
น. เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์.
น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก คืออาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคารถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร.
น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัวสําหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า.